Explorer one Team

บริษัท เอ็กซ์พลอเรอร์วัน จำกัด ก่อตั้งโดย อนุกูล สอนเอก นักสำรวจวิจัยทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมปีนเขาเอเวอร์เรสต์ปี 2007 ตั้งขึ้นมาจากประสบการณ์ทำงานและประสบการณ์ผจญภัยที่หลากหลาย พวกเราพร้อมนำท่านเข้าสู่โลกผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้งและการสำรวจทางธรรมชาติวิทยา Explorer One Team คือแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญด้านสำรวจถ้ำ ปีนหน้าผา การพายคยัคล่องแก่ง การใช้ชีวิตในป่ารวมไปถึงการสำรวจทางภูมิศาสตร์ การใช้แผนที่และเ็ข็มทิศ อีกทั้งยังดำเนินงานให้การอบรมในศูนย์ฝึกทักษะการผจญภัยแขนงต่าง ๆ รวมไปถึงการกู้ภัยพิเศษประเภทต่าง ๆอาทิการกู้ภัยทางน้ำ หน้าผาสูง ในถ้ำ หรือแม้แต่การร่วมปฏิบัติงานกู้ภัยในป่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความชำนาญกว่า 18 ปีบนเส้นทางสายนี้

5/6/57

"Wilderness & Outdoor Training Camp"

Wilderness & Outdoor Training Camp
Into the Wild Workshop I เป็นการแนะนำพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการผจญภัยอย่างถูกต้อง ในคอร์สจะแนะนำให้คุณรู้กับกับการเตรียมตัวที่ดี การเลือกใช้งานอุปกรณ์ที่หลากหลาย การใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ Workshop Into The Wild เป็นการให้ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง และเป็นพื้นฐานของการผจญภัยในระดับมืออาชีพ สำหรับสมาชิกที่ชอบการผจญภัยและความท้าทายต่าง ๆ  ทุกคำถาม ทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับการผจญภัยมีคำตอบ กับหลักสูตรฝึกทักษะการเอาตัวรอดในระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับมืออาชีพ
        ผู้ฝึกสอน(Coach & Trainer) คุณอนุกูล สอนเอก ผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจทางภูมิศาสตร์และการผจญภัยระดับแนวหน้าของเมืองไทย จบวิทยาศาสตร์บัณฑิต(ภูมิศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือว่าเป็นสถาบันชั้นนำที่ผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานแผนที่และการสำรวจทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมากว่า 50 ปีการทำงานตลอด 25 ปีที่ผ่านมาได้คลุกคลีการสำรวจวิจัยทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ป่าภูเขาทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังผ่านการฝึกทักษะผจญภัยในต่างประเทศมาหลากหลายหลักสูตร ตั้งแต่การสำรวจถ้ำวิจัยถ้ำตามมาตรฐานของ BCRA(British Cave Research Association), Single Rope Technic(SRT) ระดับพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูงและRope Rescue, การกู้ภัยทางน้ำในหลักสูตร Whitewater Rescue Technician (Rescue 3 international), Swift water Rescue จาก American Canoe Association(ACA), ทักษะการปีนเขา Mountaineering จาก Nepal Mountaineering Association(NMA)ประเทศเนปาล และสโลเวเนียตามมาตรฐานของสมาพันธ์ปีนเขานานาชาติ(UIAA), การทำงานด้วยระบบเชือกในอุตสาหกรรม Rope Access(IRATA), การดำรงชีพในป่าจากหน่วยสงครามพิเศษ และหลักสูตรการปฏิบัติการจิตวิทยาและหาข่าวจากตำรวจตระเวนชายแดน รวมไปถึงหลักสูตร Kayak จาก Singapore Canoe Federation(SCF), Whitewater Kayak ในระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงรวมไปถึง Play Boat Workshop(Northwest River Guide,USA) , หลักสูตร Slalom Kayak Coaching Program จากสมาพันธ์เรือแคนูนานาชาติ(ICF)จากประเทศฝรั่งเศส รวมไปถึง Wilderness First Aid  ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการผจญภัยในคณะอนุกรรมการมาตรฐานการท่องเที่ยวและผจญภัย กรมการท่องเที่ยว และ Technical Committion & Chief Instructor ของ Thailand Mountaineering Federation(TMF)
โดยจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้น 2 วัน 2 คืนโดยมุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติจริง การอบรมแบ่งออกเป็นทักษะต่าง ๆ ดังนี้ครับ

เนื้อหาการฝึกอบรม
1.      Introduction & Preparation
การวางแผนการเดินทาง การหาข้อมูลเบื้องต้น การวางเส้นทางการเดินทางด้วยแผนที่ รายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที่ 1 : 50:000 บอกข้อมูลอะไรเราบ้าง
2.      How to choose Equipment
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการผจญภัยมีอะไรบ้าง การเลือกอุปกรณ์ เป้ เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น เตา หม้อ ฯลฯ การเลือกอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้งาน การจัดเป้อย่างถูกวิธี การเลือกเป้ให้เหมาะกับตัวเรา การวัดขนาดหลังในการเลือกเป้
การปรับแต่งเป้ให้เข้ากับหลังของเราพอดี การจัดสัมภาระและการกระจายน้ำหนักของเป้ที่เหมาะสมกับการเดินในภูมิประเทศแบบต่าง ๆ การจัดกระเป๋ายาฉุกเฉิน เทคโนโลยีของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ในปัจจุบันพัฒนาไปขนาดไหน การเลือกเสื้อผ้าสำหรับออกผจญภัย การเตรียมเสื้อผ้าเพื่อใช้ผจญภัยในแต่ละฤดู อะไรคือ 3 Layer System
3.      Map & Navigation
Map & Navigation การใช้แผนที่เข็มทิศในการเดินทาง ระบบอ้างอิงพิกัดบนแผนที่แบบต่าง ๆ การอ่านภูมิประเทศจากแผนที่ การหาตำแหน่งของตัวเราในภูมิประเทศโดยใช้เข็มทิศ เทคนิคการกำหนดทิศทางโดยใช้สภาพธรรมชาติ การประมาณระยะทางการเดินในภูมิประเทศ
4.      Survival Technic
มีดที่ใช้ในการเดินป่า เทคนิคการใช้มีดแบบต่าง ๆ การตัดไม้ การใช้มีดในการเจาะทาง เทคนิคการใช้มีดเล็ก การลับมีดให้คม การหาน้ำ การทำน้ำในสะอาด ระบบกรองน้ำ การทำระบบกรองธรรมชาติ
5.      Camping Technic & Camp Management
การทำที่พักแรม เต้นท์ Shelter เปลนอนและเพิงพักที่นอนชั่วคราวกรณีฉุกเฉิน การเลือกที่ตั้งพักแรม การประเมินความเสี่ยงของที่ตั้งแค้มป์ การจัดการพื้นที่แค้มป์พักแรม การทำระบบเตือนภัย การวางกับดักสัญญานบอกเหตุ เทคนิคการก่อไฟแบบต่าง ๆ วิธีการก่อไฟกรณีไม่มีไฟแช็ค
การใช้หินเหล็กไฟ ฯลฯ  การก่อไฟกรณีฟื้นเปียก ฟืนเปียก และฝนตก การทำเตาประกอบอาหาร การประกอบอาหาร การหุงข้าวด้วยหม้อสนามและหม้อธรรมดา เทคนิคการหุงหากรณีไม่มีภาชนะ เช่น การใช้กระบอกไม้ไผ่ หุงข้าวด้วยผ้า การหาน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง การทำน้ำให้สะอาด การทำระบบรองรับน้ำฝน การจัดการพื้นที่แหล่งน้ำในการพักแรม อาหารและโภขนาการ การจัดการขยะ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับส้วม การทำส้วมแบบง่าย ๆ การกลบร่องรอยแค้มป์
6.      Danger on Mountain & How to survive
1.                  อันตรายที่พบได้บนภูเขา น้ำป่า ดินถล่ม ฟ้าผ่า ไฟป่า พฤติกรรมสัตว์ใหญ่ที่เป็นอันตราย เช่น ช้าง หมูป่า เสือ แหล่งอาศัย พฤติกรรม การหลีกเลี่ยงและป้องกันตัว สัตว์มีพิษและแมลงรำคาญ เช่น เห็บ คุ่น ผึ้ง ต่อ แตน ยุง ทาก งู ตะขาบ แมงป่อง แหล่งอาศัย การป้องกัน พฤติกรรม การเก็บข้อมูลและจดบันทึกการเดินทาง การคาดการณ์จากปรากฏการณ์รอบตัว เช่น การเกิดเมฆและฝน การไหลเวียนของอากาศและลมบนภูเขา พลังของน้ำ การทำความรู้จักกับการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย (P1 P2 P3) การใช้ร่างกายอย่างไรไม่ให้เกินขีดจำกัด กลไกลการปรับตัวของร่างกายกับความสูง (Acclimatization) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความสูง อุณหภูมิ อ๊อกซิเจน การสังเกตรหัสและสัญญาณธรรมชาติเพื่อคาดการณ์อันตราย สัญญาณฉุกเฉิน และการส่งทัศนะสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
7.      Basic Mountain Skill
เทคนิคการใช้ Trekking pole เทคนิคการเดินขึ้น-ลงที่ลาดชัน ระบบการหายใจกับการเดิน การแกะรอย และการทำเครื่องหมายในเส้นทาง การอ่านและการสังเกตรหัสป่า การทำทุ่นข้ามแม่น้ำการใช้อุปกรณ์ช่วยในการข้ามน้ำ
Basic Knot for Mountain&survival เชือกกับการข้ามอุปสรรค การทำ Handline เทคนิคการใช้ Handline ในพื้นที่ลาดชัน เทคนิคการเก็บเชือกแบบต่าง ๆ การใช้เชือกลงจากที่สูง Duffer Technic, Body belay การปล่อยคนลงจากที่สูงโดยใช้เชือก สัญชาติญาณกับการเดินทาง ทำอย่างไรเมื่อหลงทางหรือออกนอกเส้นทาง การใช้งานผ้าห่มฉุกเฉิน(Emergency Blanket)

ตารางกำหนดการอบรมครั้งที่ 1 (สามารถดูรายละเอียดได้ทางเอกสารเนื้อหาการฝึก) ลิงค์ https://www.mediafire.com/?dzqka2fcpsupusm
วันศุกร์
18:00 เป็นต้นไป        รายงานตัวเข้าแค้มป์ฝึก อุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น จ.สระบุรี
วันเสาร์
08:00                     เริ่มการฝึก
12:00                     พักทานอาหารกลางวัน
13:00                     เริ่มการฝึกภาคบ่าย
18:00                     รับประทานอาหารเย็น
19:00                     อบรมภาคกลางคืน
22:00                     พักผ่อน
วันอาทิตย์
07:00                     รับประทานอาหารเช้า
08:00                     เริ่มการฝึกวันที่ 2
12:00                     พักทานอาหารกลางวัน
13:00                     เริ่มการฝึกภาคบ่าย
18:00                     เดินทางกลับกรุงเทพฯ

ภาพรวมหลักสูตรการอบรม
Workshop 1 Into the wild
Workshop 2 Map& Navigation
Workshop 3 Rive  Skill
Workshop 4 Rope Skill(Up&Down)
Workshop 5 Climbing skill
Workshop 6 Rafting & Kayak Skill
Workshop 7 Caving & Cave Exploration Skill
Workshop 8 Wilderness & Mountain Medical
ค่าใช้จ่ายการอบรม
ค่าใช้จ่ายในการอบรม   3,500 บาท รวมค่าอาหาร การเดินทางในสระบุรีตลอดการอบรม ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน ค่ากางเต้นท์ ค่าใช้สถานที่ อุปกรณ์ส่วนกลางสำหรับการฝึก แต่ละรุ่นรับไม่เกิน 12 คน
ระยะเวลาในการอบรม
รุ่นที่ 1  วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 – 1 มิถุนายน 2557
รุ่นที่ 2 วันที่ 6 – 8 มิถุนายน 2557
รุ่นที่ 3 วันที่ 20 – 22 มิถุนายน 2557
การจองการอบรม
1.      ดาวน์โหลดเอกสารการสมัครได้ที่ https://www.mediafire.com/?dzqka2fcpsupusm ระบุรุ่นที่เข้าอบรม
2.      โอนเงินค่าอบรมโดยโอนเข้าบัญชี อนุกูล สอนเอก ธนาคารกรุงไทย สาขาสามแยกเกษตร บัญชีออมทรัพย์ เลขบัญชี 039-1-56912-0
3.      หลังโอนเงินส่งเอกสารทางแฟกซ์หมายเลข 02-4312419 หรือทางอีเมล์ anukoon_guer@hotmail.com
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถโทรสอบถามได้ที่คุณ อนุกูล สอนเอก โทร. 088-2479993 แฟกซ์ 02-4312419

Organizer :  
Good Attitude Consulting Co.,Ltd. 25/20 หมู่ที่ 2 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม
Tel. 088-2479993, 088-2479992
Co-operates partner : Outdoor Innovation Co.,Ltd.& Good Attitude Consulting Co.,Ltd.