Explorer one Team

บริษัท เอ็กซ์พลอเรอร์วัน จำกัด ก่อตั้งโดย อนุกูล สอนเอก นักสำรวจวิจัยทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมปีนเขาเอเวอร์เรสต์ปี 2007 ตั้งขึ้นมาจากประสบการณ์ทำงานและประสบการณ์ผจญภัยที่หลากหลาย พวกเราพร้อมนำท่านเข้าสู่โลกผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้งและการสำรวจทางธรรมชาติวิทยา Explorer One Team คือแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญด้านสำรวจถ้ำ ปีนหน้าผา การพายคยัคล่องแก่ง การใช้ชีวิตในป่ารวมไปถึงการสำรวจทางภูมิศาสตร์ การใช้แผนที่และเ็ข็มทิศ อีกทั้งยังดำเนินงานให้การอบรมในศูนย์ฝึกทักษะการผจญภัยแขนงต่าง ๆ รวมไปถึงการกู้ภัยพิเศษประเภทต่าง ๆอาทิการกู้ภัยทางน้ำ หน้าผาสูง ในถ้ำ หรือแม้แต่การร่วมปฏิบัติงานกู้ภัยในป่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความชำนาญกว่า 18 ปีบนเส้นทางสายนี้

5/6/57

"Wilderness & Outdoor Training Camp"

Wilderness & Outdoor Training Camp
Into the Wild Workshop I เป็นการแนะนำพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการผจญภัยอย่างถูกต้อง ในคอร์สจะแนะนำให้คุณรู้กับกับการเตรียมตัวที่ดี การเลือกใช้งานอุปกรณ์ที่หลากหลาย การใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ Workshop Into The Wild เป็นการให้ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง และเป็นพื้นฐานของการผจญภัยในระดับมืออาชีพ สำหรับสมาชิกที่ชอบการผจญภัยและความท้าทายต่าง ๆ  ทุกคำถาม ทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับการผจญภัยมีคำตอบ กับหลักสูตรฝึกทักษะการเอาตัวรอดในระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับมืออาชีพ
        ผู้ฝึกสอน(Coach & Trainer) คุณอนุกูล สอนเอก ผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจทางภูมิศาสตร์และการผจญภัยระดับแนวหน้าของเมืองไทย จบวิทยาศาสตร์บัณฑิต(ภูมิศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือว่าเป็นสถาบันชั้นนำที่ผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานแผนที่และการสำรวจทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมากว่า 50 ปีการทำงานตลอด 25 ปีที่ผ่านมาได้คลุกคลีการสำรวจวิจัยทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ป่าภูเขาทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังผ่านการฝึกทักษะผจญภัยในต่างประเทศมาหลากหลายหลักสูตร ตั้งแต่การสำรวจถ้ำวิจัยถ้ำตามมาตรฐานของ BCRA(British Cave Research Association), Single Rope Technic(SRT) ระดับพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูงและRope Rescue, การกู้ภัยทางน้ำในหลักสูตร Whitewater Rescue Technician (Rescue 3 international), Swift water Rescue จาก American Canoe Association(ACA), ทักษะการปีนเขา Mountaineering จาก Nepal Mountaineering Association(NMA)ประเทศเนปาล และสโลเวเนียตามมาตรฐานของสมาพันธ์ปีนเขานานาชาติ(UIAA), การทำงานด้วยระบบเชือกในอุตสาหกรรม Rope Access(IRATA), การดำรงชีพในป่าจากหน่วยสงครามพิเศษ และหลักสูตรการปฏิบัติการจิตวิทยาและหาข่าวจากตำรวจตระเวนชายแดน รวมไปถึงหลักสูตร Kayak จาก Singapore Canoe Federation(SCF), Whitewater Kayak ในระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงรวมไปถึง Play Boat Workshop(Northwest River Guide,USA) , หลักสูตร Slalom Kayak Coaching Program จากสมาพันธ์เรือแคนูนานาชาติ(ICF)จากประเทศฝรั่งเศส รวมไปถึง Wilderness First Aid  ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการผจญภัยในคณะอนุกรรมการมาตรฐานการท่องเที่ยวและผจญภัย กรมการท่องเที่ยว และ Technical Committion & Chief Instructor ของ Thailand Mountaineering Federation(TMF)
โดยจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้น 2 วัน 2 คืนโดยมุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติจริง การอบรมแบ่งออกเป็นทักษะต่าง ๆ ดังนี้ครับ

เนื้อหาการฝึกอบรม
1.      Introduction & Preparation
การวางแผนการเดินทาง การหาข้อมูลเบื้องต้น การวางเส้นทางการเดินทางด้วยแผนที่ รายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที่ 1 : 50:000 บอกข้อมูลอะไรเราบ้าง
2.      How to choose Equipment
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการผจญภัยมีอะไรบ้าง การเลือกอุปกรณ์ เป้ เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น เตา หม้อ ฯลฯ การเลือกอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้งาน การจัดเป้อย่างถูกวิธี การเลือกเป้ให้เหมาะกับตัวเรา การวัดขนาดหลังในการเลือกเป้
การปรับแต่งเป้ให้เข้ากับหลังของเราพอดี การจัดสัมภาระและการกระจายน้ำหนักของเป้ที่เหมาะสมกับการเดินในภูมิประเทศแบบต่าง ๆ การจัดกระเป๋ายาฉุกเฉิน เทคโนโลยีของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ในปัจจุบันพัฒนาไปขนาดไหน การเลือกเสื้อผ้าสำหรับออกผจญภัย การเตรียมเสื้อผ้าเพื่อใช้ผจญภัยในแต่ละฤดู อะไรคือ 3 Layer System
3.      Map & Navigation
Map & Navigation การใช้แผนที่เข็มทิศในการเดินทาง ระบบอ้างอิงพิกัดบนแผนที่แบบต่าง ๆ การอ่านภูมิประเทศจากแผนที่ การหาตำแหน่งของตัวเราในภูมิประเทศโดยใช้เข็มทิศ เทคนิคการกำหนดทิศทางโดยใช้สภาพธรรมชาติ การประมาณระยะทางการเดินในภูมิประเทศ
4.      Survival Technic
มีดที่ใช้ในการเดินป่า เทคนิคการใช้มีดแบบต่าง ๆ การตัดไม้ การใช้มีดในการเจาะทาง เทคนิคการใช้มีดเล็ก การลับมีดให้คม การหาน้ำ การทำน้ำในสะอาด ระบบกรองน้ำ การทำระบบกรองธรรมชาติ
5.      Camping Technic & Camp Management
การทำที่พักแรม เต้นท์ Shelter เปลนอนและเพิงพักที่นอนชั่วคราวกรณีฉุกเฉิน การเลือกที่ตั้งพักแรม การประเมินความเสี่ยงของที่ตั้งแค้มป์ การจัดการพื้นที่แค้มป์พักแรม การทำระบบเตือนภัย การวางกับดักสัญญานบอกเหตุ เทคนิคการก่อไฟแบบต่าง ๆ วิธีการก่อไฟกรณีไม่มีไฟแช็ค
การใช้หินเหล็กไฟ ฯลฯ  การก่อไฟกรณีฟื้นเปียก ฟืนเปียก และฝนตก การทำเตาประกอบอาหาร การประกอบอาหาร การหุงข้าวด้วยหม้อสนามและหม้อธรรมดา เทคนิคการหุงหากรณีไม่มีภาชนะ เช่น การใช้กระบอกไม้ไผ่ หุงข้าวด้วยผ้า การหาน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง การทำน้ำให้สะอาด การทำระบบรองรับน้ำฝน การจัดการพื้นที่แหล่งน้ำในการพักแรม อาหารและโภขนาการ การจัดการขยะ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับส้วม การทำส้วมแบบง่าย ๆ การกลบร่องรอยแค้มป์
6.      Danger on Mountain & How to survive
1.                  อันตรายที่พบได้บนภูเขา น้ำป่า ดินถล่ม ฟ้าผ่า ไฟป่า พฤติกรรมสัตว์ใหญ่ที่เป็นอันตราย เช่น ช้าง หมูป่า เสือ แหล่งอาศัย พฤติกรรม การหลีกเลี่ยงและป้องกันตัว สัตว์มีพิษและแมลงรำคาญ เช่น เห็บ คุ่น ผึ้ง ต่อ แตน ยุง ทาก งู ตะขาบ แมงป่อง แหล่งอาศัย การป้องกัน พฤติกรรม การเก็บข้อมูลและจดบันทึกการเดินทาง การคาดการณ์จากปรากฏการณ์รอบตัว เช่น การเกิดเมฆและฝน การไหลเวียนของอากาศและลมบนภูเขา พลังของน้ำ การทำความรู้จักกับการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย (P1 P2 P3) การใช้ร่างกายอย่างไรไม่ให้เกินขีดจำกัด กลไกลการปรับตัวของร่างกายกับความสูง (Acclimatization) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความสูง อุณหภูมิ อ๊อกซิเจน การสังเกตรหัสและสัญญาณธรรมชาติเพื่อคาดการณ์อันตราย สัญญาณฉุกเฉิน และการส่งทัศนะสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
7.      Basic Mountain Skill
เทคนิคการใช้ Trekking pole เทคนิคการเดินขึ้น-ลงที่ลาดชัน ระบบการหายใจกับการเดิน การแกะรอย และการทำเครื่องหมายในเส้นทาง การอ่านและการสังเกตรหัสป่า การทำทุ่นข้ามแม่น้ำการใช้อุปกรณ์ช่วยในการข้ามน้ำ
Basic Knot for Mountain&survival เชือกกับการข้ามอุปสรรค การทำ Handline เทคนิคการใช้ Handline ในพื้นที่ลาดชัน เทคนิคการเก็บเชือกแบบต่าง ๆ การใช้เชือกลงจากที่สูง Duffer Technic, Body belay การปล่อยคนลงจากที่สูงโดยใช้เชือก สัญชาติญาณกับการเดินทาง ทำอย่างไรเมื่อหลงทางหรือออกนอกเส้นทาง การใช้งานผ้าห่มฉุกเฉิน(Emergency Blanket)

ตารางกำหนดการอบรมครั้งที่ 1 (สามารถดูรายละเอียดได้ทางเอกสารเนื้อหาการฝึก) ลิงค์ https://www.mediafire.com/?dzqka2fcpsupusm
วันศุกร์
18:00 เป็นต้นไป        รายงานตัวเข้าแค้มป์ฝึก อุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น จ.สระบุรี
วันเสาร์
08:00                     เริ่มการฝึก
12:00                     พักทานอาหารกลางวัน
13:00                     เริ่มการฝึกภาคบ่าย
18:00                     รับประทานอาหารเย็น
19:00                     อบรมภาคกลางคืน
22:00                     พักผ่อน
วันอาทิตย์
07:00                     รับประทานอาหารเช้า
08:00                     เริ่มการฝึกวันที่ 2
12:00                     พักทานอาหารกลางวัน
13:00                     เริ่มการฝึกภาคบ่าย
18:00                     เดินทางกลับกรุงเทพฯ

ภาพรวมหลักสูตรการอบรม
Workshop 1 Into the wild
Workshop 2 Map& Navigation
Workshop 3 Rive  Skill
Workshop 4 Rope Skill(Up&Down)
Workshop 5 Climbing skill
Workshop 6 Rafting & Kayak Skill
Workshop 7 Caving & Cave Exploration Skill
Workshop 8 Wilderness & Mountain Medical
ค่าใช้จ่ายการอบรม
ค่าใช้จ่ายในการอบรม   3,500 บาท รวมค่าอาหาร การเดินทางในสระบุรีตลอดการอบรม ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน ค่ากางเต้นท์ ค่าใช้สถานที่ อุปกรณ์ส่วนกลางสำหรับการฝึก แต่ละรุ่นรับไม่เกิน 12 คน
ระยะเวลาในการอบรม
รุ่นที่ 1  วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 – 1 มิถุนายน 2557
รุ่นที่ 2 วันที่ 6 – 8 มิถุนายน 2557
รุ่นที่ 3 วันที่ 20 – 22 มิถุนายน 2557
การจองการอบรม
1.      ดาวน์โหลดเอกสารการสมัครได้ที่ https://www.mediafire.com/?dzqka2fcpsupusm ระบุรุ่นที่เข้าอบรม
2.      โอนเงินค่าอบรมโดยโอนเข้าบัญชี อนุกูล สอนเอก ธนาคารกรุงไทย สาขาสามแยกเกษตร บัญชีออมทรัพย์ เลขบัญชี 039-1-56912-0
3.      หลังโอนเงินส่งเอกสารทางแฟกซ์หมายเลข 02-4312419 หรือทางอีเมล์ anukoon_guer@hotmail.com
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถโทรสอบถามได้ที่คุณ อนุกูล สอนเอก โทร. 088-2479993 แฟกซ์ 02-4312419

Organizer :  
Good Attitude Consulting Co.,Ltd. 25/20 หมู่ที่ 2 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม
Tel. 088-2479993, 088-2479992
Co-operates partner : Outdoor Innovation Co.,Ltd.& Good Attitude Consulting Co.,Ltd.

28/5/54

SMCC Expedition 2009-2010

ถ้ำนิรนาม เปรียบดั่ง เอเวอร์เรสต์ของถ้ำในเมืองไทย จากการสำรวจหลังเดือนเมษายน 2011 ทีมสำรวจได้พบเส้นทางเชื่อมต่อ บนเส้นเชือก โดยลึกลงไปอีกราว 120 เมตร จากการสำรวจเมื่อสองปีที่แล้ว ภายหลังจากการสำรวจ เมื่อสองปีที่แล้ว หลังจากการสำรวจครั้งแรกโดยทีมจากประเทศอังกฤษ เข้าทำการสำรวจเมื่อปี 2009&2010 ขณะนี้ถ้ำแห่งนี้ กลายเป็นถ้ำที่ลึกที่สุดในเมืองไทย มีความลึกแนวดิ่งกว่า 500 เมตร เมื่อสองปีที่ผ่านมา เราได้พบถ้ำที่ลึกที่สุดในประเทศไทย อยู่บริเวณชายแดน ถ้ำมีความยาวราว 2,000 เมตรภายซึ่งต้องใช้เทคนิคเชือกในการสำรวจถ้ำเพื่อโรยตัวลงไปในเหวลึกเป็นร้อยเมตรด้านใน พวกเราหวังว่าในเวลาอันใกล้นี้พวกเราคงได้มีโอกาสได้เข้าไปสำรวจและบันทึกสารคดีออกมาให้เพื่อน ๆ ได้ชมกันครับ 














Photo from Caving Club ,England

14/5/54

นักสำรวจถ้ำ 2

ประสบการณ์ : ความรู้ที่ไม่มีในตำรา

 สำหรับนักสำรวจถ้ำพวกเราทุกคนรู้ว่าอันตรายนั้นอยู่รอบตัว  สิ่งที่อันตรายที่สุดก็คือ  อากาศที่มีเปอร์เซ็นคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่เกิดจาก  เศษซากใบไม้กิ่งไม้เน่าเปื่อยและผสมกับโคลนที่ถูกกระแสน้ำพัดพาเข้าไปหรือมูลค้างคาวที่ทับถมกันอยู่ส่งกลิ่นฉุนแต่กลับส่งผลดีต่อถ้ำเนื่องจากมันคือจุดริ่มต้นของห่วงโซ่อาหารภายในถ้ำ  แบคทีเรียเริ่มย่อยสลายและให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เมื่อมันสะสมตัวมาก ๆ เข้าประกอบกับอากาศภายในถ้ำมีการถ่ายเทและเปลี่ยนแปลงน้อย  ตามปรกติในบรรยากาศปรกติเราจะพบว่าระดับเปอร์เซ็นของคาร์บอนไดออกไซด์มีอยู่ประมาณ 0.003 % แต่เมื่ออยู่ในถ้ำเราจะพบในระดับปรกติและในระดับที่มากกว่าปรกติ เนื่องจากผลผลิตของการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ และจากกระบวนการตกตะกอนอีกครั้งของแคลเซียมคาร์บอเนต  ระดับอันตรายของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นอันตรายต่อคนจะอยู่ที่ประมาณ  5.5% อาการหายใจติดขัดสมองจะมึนงงและหมดสติหลังจากนั้นจะเสียชีวิตภายในไม่กี่นาที    การตรวจสอบอากาศที่ปลอดภัยที่สุด  เราจะใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคสำหรับบอกระดับคาร์บอนไดออกไซด์มันจะส่งเสียงเตือนเมื่อถึงระดับอันตรายแต่อุปกรณ์ชิ้นนี้ราคาแพงมาก การตรวจสอบอีกอย่างก็คือการใช้อาการผิดปรกติของร่างกายเป็นตัววัด แต่คุณจะต้องเคยมีประสบการณ์จึงสามารถบอกได้  บางครั้งการหายใจติดขัดก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากอากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงอย่างเดียว แต่ยังมาจากออกซิเจนน้อยด้วย
การคาดเดาถ้ำที่มีอันตรายจากอากาศเสียบางครั้งสามารถคาดเดาได้  แต่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในถ้ำมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างภายในกับภายนอกถ้ำเมื่อใดที่ถ้ำมีทางเข้าออกทางเดียว อุณหภูมิภายในเย็นกว่าภายนอก  อากาศในถ้ำจะไหลออกมาบริเวณปากถ้ำและจะนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาด้วย  ในทางกลับกันหากอากาศภายนอกเย็นกว่าอากาศจะไหลย้อนกลับเข้าไปข้างในหอบเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปด้วยจนอยู่ในระดับสมดุลย์  นอกจากนี้มวลโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์หนักกว่าออกซิเจน  ดังนั้นภายในถ้ำชั้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทิ้งตัวด้านล่างของออกซิเจน  ยิ่งลึกเข้าไประดับชั้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ   ในถ้ำใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีการสำรวจมากก่อนหากถ้ำที่ไม่มีการไหลเวียนของอากาศแต่มีชั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่บนพื้นถ้ำเราจะพบว่าการเดินเข้าไปจะไม่มีปัญหาเรื่องอากาศ  แต่เมื่อเดินกลับออกมาจะพบปัญหาอากาศไม่พอหายใจ  เนื่องจากการเดินเข้าไปรบกวนสมดุลย์ของชั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการฟุ้งกระจายขึ้นมา
นักสำรวจถ้ำทุกคนจะเรียนรู้ถึงวิธีการสังเกตุการไหลเวียนของอากาศและวิธีการในการตรวจสอบอากาศ  และพร้อมที่จะกลับออกมาเมื่อถึงเกิดปัญหาหรือถึงขีดจำกัดของทีม   ดีนอธิบายเสร็จทุกคนดูนั่งนิ่งได้แต่มองหน้ากันอาการเหมือนช๊อคกับเรื่องที่เพิ่งได้ฟังไป
เหมือนถ้ำที่เราเพิ่งไปสำรวจในวันนี้ไง  แต่พวกเราโชคดีที่ระดับอากาศยังไม่อันตรายเท่าไหร่ ไม่มีปัญหา  แต่ไม่ต้องห่วงหรอก  เพราะเราพบได้ไม่บ่อยนักดีนพูดปลอบใจ
ความเย็นในถ้ำถือว่าเป็นอันตรายรองลงมา ตามปรกติน้ำในถ้ำจะมีความเย็นมากกว่าน้ำที่อยู่ภายนอกถ้ำ  พวกเราเคยเข้าสำรวจถ้ำน้ำที่  อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติลำคลองงู  จังหวัดกาญจนบุรีในช่วงฤดูร้อนช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของปี เป็นถ้ำที่มีน้ำตลอดและน้ำไหลแรงมากพวกเราต้องว่ายทวนน้ำเข้าไปในถ้ำ  จุดพักของพวกเราคือการเอามือเกาะผนังถ้ำและลอยคอในน้ำเท่านั้นเราแช่น้ำอยู่ในถ้ำประมาณ  5  ชั่วโมงกว่าจะทำการสำรวจเสร็จสิ้น ช่วงนั้นน้ำในลำห้วยภายในถ้ำมีอุณหภูมิอยู่ประมาณ  16-18  องศาเซลเซียสบางช่วงมีลมแรงมาก  การแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานทำให้เสี่ยงต่ออาการไฮโปเทอร์เมีย(Hypothermia) หรือ  อาการของคนที่อุณหภูมิในร่างกายต่ำเกินไปคือ  ตัวสั่น  เดินช้า  ปล่อยของหลุดจากมือกล้ามเนื้อไม่ค่อยเคลื่อนไหว  พูดไม่สะดวก มองเห็นไม่ชัดเจน  จิตใจเริ่มไม่อยู่กับร่องกับรอย  ถ้ำอุณหภูมิในร่างกายลดลง 5-6  องศาจะทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้  ดังนั้นการเตรียมชุดเสื้อผ้าและอุปกรณ์จึงมีความจำเป็นต้องเป็นชุดที่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้ในระดับหนึ่งผมพูดเสริมขึ้นมาบ้าง
          ในการสำรวจครั้งนั้นมีประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ลืมไม่ลงจริง ๆ  การเข้าสำรวจถ้ำเสาหินในลำคลองงูเมื่อ  2  ปีที่แล้วหลังจากที่เราว่ายน้ำและเดินเลาะลำห้วยเข้าไปเกือบถึงเสาหินใหญ่ ทันใดนั้นเราก็ได้ยินเสียงแปลก ๆ ดังจากด้านบนสักอึดใจน้ำในลำห้วยแตกกระจาย ละอองน้ำกระเซ็นใส่พวกเราพร้อม ๆ กับเสียงเหมือนหินร่วงกราวใหญ่ ก้อนหินขนาดครึ่งเมตรหล่นจากเพดานถ้ำลงไปในลำห้วยห่างจากพวกเราไปประมาณ 1.5 เมตร  พวกเราได้แต่นิ่งเพราะช็อคกันสถาณะการณ์ในขณะนั้นและหันมามองหน้ากันแต่ก็โชคดีที่คณะสำรวจไม่ได้เป็นอะไรกันมาก
ใช่มันเป็นประสบการณ์ที่ลืมไม่ลงเลยจริง ๆ ใครพบเหตุการณ์นี้นับว่าโชคดีมาก เพราะมันจะเกิดขึ้นไม่บ่อย  อาจเป็นหนึ่งต่อพันหรือหนึ่งต่อหมื่นเลยก็ว่าได้  แต่ขออย่างเดียวอย่าหล่นใส่กลางวงเป็นใช้ได้ดีนเห็นด้วยและพูดอย่างติดตลก
แล้วอันตรายอย่างอื่นล่ะครับมีอีกไหมครับอ๊อดถามอย่างสนใจ
มีสิเดียวผมกับดีนจะค่อย ๆ เล่าให้ฟังพูดจบผมก็หันไปถามดีน
คุณจำตอนที่เราเข้าสำรวจถ้ำที่สระบุรีเมื่อ  9  เดือนที่แล้วได้ไหม  ดีนนึกอยู่สักครู่ก็พูดออกมา
พวกเรารู้จักถ้ำที่มีลำห้วยอยู่ข้างในไหม  ถ้ำหลาย ๆ แห่งในไทยมีลำห้วยอยู่ข้างในและไหลลอดถ้ำบางถ้ำมีน้ำตลอดปีแต่บางถ้ำมีน้ำในฤดูฝนเท่านั้นเราเรียกถ้ำเหล่านี้ว่า  ถ้ำน้ำ(Stream Cave)”  ถ้ำเหล่านี้จะปิดตัวเองโดยอัตโนมัติในฤดูฝน การเข้าไปสำรวจจะต้องสังเกตตามผนังถ้ำว่ามีโคลนหรือเศษไม้อยู่หรือไม่  เหล่านักสำรวจถ้ำจะรู้ดีและหลีกเลี่ยงการสำรวจถ้ำน้ำในฤดูน้ำหลาก  บางถ้ำที่มีขนาดลุ่มน้ำใหญ่เวลาน้ำป่าไหลบ่ามาจะมีพลังมหาศาลสามารถพัดท่อนซุงขนาดใหญ่ให้ไปติดอยู่บนเพดานถ้ำได้เลยทีเดียว  เหมือนถ้ำนกนางแอ่นอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ในจังหวัดกาญจนบุรี  พวกเราเคยทำเครื่องหมายเพื่อดูระดับน้ำคร่าว ๆ ที่ท่วมในถ้ำในช่วงปีถัดไปเราพบว่าน้ำในถ้ำมีระดับสูงมาก   พวกเราคิดว่าในคาร์สตวินโดว์ที่  4 (Karst Window) จะต้องกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่โดยทันที
ประสบการณ์ที่พวกเราเคยพบคือการเข้าสำรวจถ้ำลุมพินีสวนหินจังหวัดสระบุรี    ดีนพบความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในลำห้วยภายในถ้ำ  น้ำกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับมีเศษกิ่งไม้ไหลมากับน้ำทำให้เราคาดเดาได้ว่าน่าจะมีฝนตกภายนอกถ้ำ  จุดที่พวกเราอยู่ในขณะนั้นเป็นช่องทางที่แคบ ๆ ประมาณเมตรครึ่งและมีความสูงเพียงหนึ่งเมตร  ที่สำคัญที่สุดตามผนังและเพดานถ้ำมีเศษไม้และโคลนติดอยู่  ทำให้พวกเรารู้ดีว่า  ระดับน้ำสูงสุดของจุดนี้คือมิดเพดานถ้ำซึ่งอันตรายมาก  ดีนเตือนพวกเราให้ระวังตัว
จากจุดที่เราอยู่ห่างจากปากถ้ำเกือบ  1  กิโลเมตร  และมีหลายจุดที่ไม่สามารถเดินเท้าได้  จะต้องปีนขึ้นไปตามก้อนหินซึ่งถ้าออกจากถ้ำคงจะไม่ทันแน่นอน  สัญชาตญาณบอกกับเราว่าให้รีบไปจากจุดนี้และจะต้องหาที่สูงที่น้ำจะท่วมไม่ถึงเพื่อหลบภัย
ขณะที่คิดและวิ่งมองหาที่ปลอดภัย  เราได้ยินเสียงคล้ายมีคนมารัวกลองในถ้ำ  มันค่อย ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น ๆ และคำรามก้องเหมือนฟ้าร้อง
แล้วทุกคนทำอย่างไรครับ  แซกถามขึ้นมาด้วยความสงสัย
  ทุกคนก็ตั้งหน้าตั้งตาวิ่งในทันที น่ะซิ
โดยปรกติผมจะคุยกับดีนด้วยภาษาไทย  เพราะดีนมีภาษาไทยที่แข็งแรงมากแต่ในตอนนั้นดีนส่งภาษาอังกฤษกับผมและเพื่อนอีกคนในทีมโดยไม่ต้องแปลเป็นไทยว่า
“Come  here now” 
เรามองตามขึ้นไปแล้วได้ข้อสรุปเดียวกัน  นั่นคือที่มั่นของทีมในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้
บริเวณนี้เป็นที่กว้างพอควรและมีที่นั่งพักในระดับสูงพอที่ทุกคนจะนั่งได้  พวกเราปีนขึ้นไปและอยู่ที่นั่นไม่ถึง  5  นาทีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างทันทีทันใด  ฝนตกที่อาจจะดูไม่รุนแรงนักที่ข้างนอกถ้ำแต่จะส่งผลรุนแรงต่อลำน้ำในถ้ำ  เหมือนการเอาน้ำในถ้วยไปกรอกใส่ในหลอดกาแฟ  ทั้งระดับน้ำและความเร็วของน้ำที่เพิ่มเป็นทวีคุณ  เมื่อลำน้ำถูกบีบเข้าสู่ที่แคบ ๆ
น้ำตกเดิมที่เราเห็นตอนนี้หายไปแล้วกลายเป็นลำน้ำขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้มที่โกรธเกรี้ยวพัดหอบเอาเศษไม้ดินทรายเข้ามา  พวกเราทำได้อย่างเดียวคือ นั่งรอโดยเราต้องปิดไฟทุกดวงเพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้ยามจำเป็นและภาวนาให้ฝนที่ตกข้างนอกหยุดตก 
ความมืด  ความชื้น  ความหนาวเย็น  และความหิวมาเยือนพวกเราพร้อม ๆ กัน  ห้าชั่วโมงผ่านไปตั้งแต่  5  โมงเย็นจน  4  ทุ่ม สายน้ำที่บ้าคลั่งค่อย ๆ สงบลงเหลือทิ้งไว้แต่เศษไม้และดินโคลนสีแดงเต็มพื้นและผนังถ้ำ  ผมพยายามเล่าเหตุการณ์ระทึกใจครั้งนั้นให้ทุกคนฟัง
การลื่นล้มบาดเจ็บหรือการเกิดอุบัติเหตุภายในถ้ำเป็นสิ่งที่นักสำรวจถ้ำพยายามหลีกเลี่ยง  คงไม่ใช่สิ่งที่สบายหากต้องนำคนเจ็บที่อยู่ในถ้ำลึกออกมา  ต้องว่ายน้ำ  นำคนเจ็บขึ้นจากเหว  ฯลฯ  แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดน้อยที่สุดได้  โดยการระมัดระวัง  การใส่อุปกรณ์ป้องกัน  การประเมินความสามารถของตนเองและทีมสำรวจว่าสามารถไปได้มากน้อยขนาดไหนหากทีมไม่พร้อมจะไม่เสี่ยงโดยเด็ดขาด  ทุกคนจะกลับออกมาเตรียมตัว  ฝึกหัด  เตรียมอุปกรณ์และแผนสำหรับการเข้าสำรวจในครั้งต่อไป
แล้วในถ้ำมีสัตว์มีพิษหรือเปล่าครับเจ้าหน้าที่ถามขึ้นบ้าง
ตามปรกติสัตว์มีพิษจะไม่ค่อยพบภายในถ้ำลึก ๆ เพราะสัตว์เหล่านั้นไม่สามารถอยู่ในที่ที่มืดสนิทได้  ไม่มีอาหาร ไม่มีแสงแดด   แต่จะพบงูบางชนิดที่สามารถอยู่ในถ้ำลึก ๆ ได้  เป็นงูที่หากินในถ้ำจริง ๆ   กินค้างคาว  เช่น งูกาบหมากหางนิล(Cave dwelling snake) แต่งูประเภทนี้ไม่สามารถกัดคนได้  ส่วนงูชนิดอื่น ๆ จะอาศัยอยู่ในบริเวณปากถ้ำ  และบริเวณที่พอมีแสงสว่างส่องถึง  สัตว์จำพวกงูมักชอบที่เย็นและอยู่ตามซอกหิน  ดังนั้นก่อนที่จะเดิน  มุด  หรือคลานเข้าถ้ำจะต้องมีการตรวจสอบบริเวณที่จะเข้าไปให้เรียบร้อยก่อนผมอธิบายให้ฟัง
แล้วเรื่องการหลงทางในถ้ำล่ะครับอ๊อดถามขึ้นบ้าง
การหลงทางในถ้ำ  ดูเหมือนจะเป็นอันตรายที่นักสำรวจถ้ำไม่กลัวเท่าใดนัก  สำหรับนักสำรวจถ้ำที่มีประสบการณ์  เขาจะมีความสามารถจากประสบการณ์บางอย่างในการจดจำเส้นทาง  พวกเขาจะแม่นยำมากเรื่องทิศทางผมคิดว่าช่วงที่เขาเข้าไปคงจะจิตนาการเส้นทางที่เดินเป็นแผนที่คร่าว ๆ อยู่ในสมอง  ถ้ายิ่งได้ใช้เทคนิคการทำแผนที่ถ้ำด้วย  เข็มทิศ  เทปวัดระยะ ประกอบกับการสเกตและบันทึกคร่าว ๆ ของเส้นทางภายในถ้ำ  เราจะรู้เส้นทางทั้งหมดของถ้ำในทันที  แต่ก็มีบางครั้งที่เจอเส้นทางที่ยากและถ้ำยาวมาก ๆ ก็ทำเครื่องหมายไว้บนเส้นทาง  สาเหตุหนึ่งที่จะทำให้เกิดการหลงทางในถ้ำได้ก็คือ  อุปกรณ์มีปัญหาแต่เราสามารถควบคุมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดได้  การเตรียมอุปกรณ์เช่นไฟฉายจะมีสำรองไว้อย่างน้อย  3  ชุด  อุปกรณ์ทุกชิ้นก่อนเข้าสำรวจและหลังจากสำรวจเสร็จแล้ว จะต้องทำการตรวจเช็คสภาพของอุปกรณ์  ทำความสะอาด   และซ่อมบำรุงพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาผมอธิบายให้ฟัง
ถ้าอย่างนั้นการเที่ยวถ้ำหรือการสำรวจในประเทศไทยในปัจจุบันนี้จะต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกับการหลงทางภายในถ้ำ  และการเข้าถ้ำทุกครั้งจะต้องมีคนนำทาง  และอุปกรณ์ต้องพร้อมใช่ไหมครับแซกถามพร้อมกับฉีกยิ้มกว้างเหมือนมองเห็นสัจธรรมของชีวิต
ก็คงต้องเป็นอย่างที่คุณเข้าใจนั่นแหละ  แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ถ้าคุณสามารถพัฒนาตัวเองและมีประสบการณ์ที่มากขึ้นพอที่จะออกสำรวจถ้ำเองได้  แต่ตอนนี้คงต้องอาศัยคนที่มีประสบการณ์เป็นคนนำและค่อย ๆ เรียนรู้กันไป  ถ้าทำได้อย่างนี้คุณจะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น  ถูกต้องและปลอดภัยกับชีวิตของตนเองผมสรุปให้ฟัง
บางครั้งนักสำรวจถ้ำนำเอาการสำรวจถ้ำมาผนวกเข้ากับกีฬาดำน้ำ ทำให้สามารถท่องเข้าไปยังอาณาจักรที่ลึกเข้าไปนั่นคือการสำรวจถ้ำใต้น้ำ ถือว่าเป็นศาสตร์ที่อันตรายที่สุด  หลาย ๆ ถ้ำที่เราสำรวจจะไปสุดที่แอ่งน้ำ ( Sump )  น้ำทั้งหมดจะมุดหายลงไปในอุโมงค์ที่มีน้ำเต็ม  หรือถ้ำที่อยู่ตามเกาะในทะเล  ดังนั้นการจะเข้าไปสำรวจจะต้องมีการใช้อุปกรณ์พิเศษช่วย  ผู้ที่เป็นนักสำรวจถ้ำใต้น้ำที่เก่งต้องมีประสบการณ์การสำรวจถ้ำมากประกอบกับมีทักษะการดำน้ำที่เชี่ยวชาญจึงสามารถท่องไปในโลกใต้ดินและใต้น้ำได้ดี  การสำรวจถ้ำใต้น้ำเป็นการสำรวจที่ยากเพราะต้องพบกับตะกอนโคลนที่อยู่ตามพื้นถ้ำที่พร้อมจะฟุ้งกระจายได้ตลอดเวลา  ช่องทางที่แคบและกระแสน้ำที่รุนแรงที่อัดผ่านช่องเล็ก ๆ   เวลาในการสำรวจจะถูกจำกัดโดยออกซิเจนในถัง  หินตามผนัง เพดานถ้ำสามารถทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา  ดีนอธิบายเพิ่มเติมให้กับทุก ๆ ฟัง
การสำรวจถ้ำทุกครั้งของนักสำรวจถ้ำทั่วทุกมุมโลกจะยึดถือในกฏเกณฑ์การสำรวจเดียวกันเพื่อป้องกันอันตรายจากการท่องเที่ยวหรือการสำรวจถ้ำไม่ว่าจะเป็นนักสำรวจถ้ำมืออาชีพ  มือสมัครเล่น  หรือนักท่องเที่ยว
1.   การสำรวจถ้ำทุกครั้งจะต้องสวมหมวกนิรภัยตลอดเวลา
2.   อุปกรณ์ให้แสงสว่างจะต้องมีอย่างน้อย  3  ชุด  ได้แก่  ไฟหลัก  ไฟสำรองและไฟฉุกเฉิน  ต้องเตรียมแบตเตอรี่  หลอดไฟสำรองให้เพียงพอและเผื่อ อย่างน้อย  1  เท่าเสมอ
3.   การสำรวจถ้ำจะต้องเข้าสำรวจอย่างน้อย  4  คน  ถ้าคนใดคนหนึ่งไม่พร้อมจะต้องกลับออกมาทั้งหมด  มิฉะนั้นจะเป็นภาระกับเพื่อนร่วมทีมทันที
4.   การเข้าถ้ำทุกครั้งจะต้องบอกกับเพื่อนหรือคนรู้จักที่แน่ใจว่าเมื่อคณะสำรวจยังไม่กลับมาตามกำหนด  เขาจะต้องหาคนตามไปช่วยเหลือได้  ต้องแจ้งถึงถ้ำที่เข้าสำรวจ  ใช้เวลาสำรวจนานเท่าใด  ที่สำคัญที่สุดกลับออกมาเมื่อใด
5.   นักสำรวจต้องเรียนรู้ประสิทธิภาพ  ข้อจำกัดของการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทำงานทั้งหมด  สามารถซ่อมแซมและดัดแปลงเมื่อเกิดปัญหา  สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือในกรณีที่จำเป็นได้  และต้องดูแลรักษาให้อุปกรณ์เครื่องมือพร้อมใช้งานตลอดเวลา
6.   ก่อนใช้งานอุปกรณ์พิเศษเช่น  อุปกรณ์ขึ้นลงทางดิ่ง  อุปกรณ์ดำน้ำ  จะต้องมีการฝึกหัดและฝึกฝนถึงขั้นตอนการทำงานให้ขึ้นใจก่อนเข้าสำรวจจริงทุกครั้ง  เพราะเมื่อเกิดปัญหาจะไม่มีใครสามารถช่วยได้นอกจากตัวเองเท่านั้น
7.   นักสำรวจจะต้องรู้จัดและฝึกฝนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  สามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมได้เมื่อเกิดการบาดเจ็บ เพราะกว่าชุดกู้ภัยจะมาช่วยเหลือได้ต้องใช้เวลานาน  ในกรณีจำเป็นต้องสามารถช่วยให้ผู้บาดเจ็บรอดชีวิตจนกว่าหน่วยกู้ภัยจะมาถึง
8.   การเข้าถ้ำทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อถ้ำ  พึงตระหนักไว้ว่าถ้ำทุกที่เป็นถ้ำที่มีระบบนิเวศเฉพาะและเปราะบาง  สิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปย่อมเกิดผลกระทบที่ยาวนาน  เช่น  ขยะ  ถ่านไฟฉายที่หมดแล้วมีมลพิษจากโลหะหนัก  เศษอาหารทำให้เชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีหรือแม้กระทั่งเชื้อราและแบคทีเรียที่ติดเสื้อผ้าของผู้สำรวจเอง  ทุกสิ่งที่นำเข้าไปจะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับถ้ำเสมอต้องนำกลับออกมาด้วยเท่าที่จะเป็นไปได้และจงรบกวนสิ่งมีชีวิตในถ้ำให้น้อยที่สุด
สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักสำรวจถ้ำจะต้องตระหนักไว้เสมอและถามตัวเองก่อนเข้าสำรวจถ้ำทุกครั้งว่า  คุณรู้จักถ้ำดีเพียงใด  การสำรวจถ้ำธรรมชาติที่ยังไม่เคยมีผู้ใดย่างกรายเข้าไปก่อน  ผู้สำรวจจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับถ้ำ  เช่น  ธรณีวิทยา  อุทกวิทยา  ตะกอนภายในถ้ำ  กลไกลของอากาศภายในถ้ำ  นิเวศวิทยาภายในถ้ำ  โบราณคดี  ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับถ้ำ  ความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง  ค่อย ๆ เรียนรู้และสะสมประสบการณ์  ควรศึกษาจากการติดตามผู้ที่มีประสบการณ์เท่านั้น  ตระหนักไว้เสมอว่า  นักสำรวจถ้ำมืออาชีพที่มีประสบการณ์เป็นสิบ ๆ ปีได้เสียชีวิตไปหลายคนจากอุบัติเหตุในการสำรวจ  ความไม่พร้อมและความประมาท

ก้าวย่างเพื่อหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลง

ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่ถ้ำเท่านั้นที่รอการค้นพบ  สำรวจ  ศึกษา  และอนุรักษ์จากนักสำรวจ  นักวิชาการในแขนงต่าง ๆ  ทั้งนี้ยังรวมไปถึงพื้นที่คารส์ตทั้งหมดในประเทศไทยที่ต่างก็มีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของถ้ำที่มีคุณค่าในประเทศไทย
การสำรวจถ้ำในประเทศไทยยังถือว่าอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น  โดยเริ่มจากกรมป่าไม้ในช่วงเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา  เพื่อสำรวจถ้ำต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบแต่ก็เป็นการสำรวจเบื้องต้นและเป็นการวางรากฐานของการจัดการถ้ำในอนาตคเท่านั้น  หลังจากนั้นเกือบ 2 ปีงานการสำรวจวิจัยเเต็มรูปแบบกี่ยวกับถ้ำในประเทศไทยได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี  2540  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสร้างบุคคลากรที่สามารถทำงานด้านการสำรวจถ้ำในระดับของมืออาชีพ  ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนจาก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  ในการศึกษา  2  พื้นที่โครงการคือ  โครงการสำรวจถ้ำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร  และโครงการสำรวจถ้ำในอำเภอปางมะผ้า  . แม่ฮ่องสอน  เราคาดว่าหลังจากเสร็จสิ้นโครงการทั้งสองนี้แล้ว เราจะมีบุคคลากรไทยที่สามารถดำเนินการในการสำรวจวิจัยถ้ำในระดับของมืออาชีพ  สามารถทำความเข้าใจกับปริศนาของโครงข่ายใต้ดินอันซับซ้อน  รู้ถึงคุณค่าความสำคัญทางด้านต่าง ๆ ของถ้ำอย่างถูกต้อง  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นฐานข้อมูลในการจัดการใช้ประโยชน์ถ้ำอย่างยั่งยืนในอนาคต
การทำการศึกษาและสำรวจคุณลักษณะ  ระบบนิเวศของถ้ำในสภาพธรรมชาติที่ยังไม่เคยมีมนุษย์คนใดเหยียบย่ำเข้าไปก่อน  การวิจัยที่ต้องแข่งขันกับปริมาณความต้องการใช้ถ้ำเพื่อสนองตอบกระแสการท่องเที่ยวที่ต้องการใช้ประโยชน์ถ้ำที่มีคุณค่าในพื้นที่อื่นๆ  
          ความเสื่อมโทรมของถ้ำจากปัญหาขยะจากนักท่องเที่ยว  เช่น  ถ้ำเชียงดาว  การขีดเชียนตามผนังถ้ำ  การติดตั้งไฟและอุปกรณ์ส่องสว่างถาวร  โดยไม่ได้พิจารณาสภาพสมดุลย์ของอุณหภูมิ ความชื้นและการหมุนเวียนของอากาศภายในถ้ำ  การจับต้องหินงอกหินย้อย  การเดินบนพื้นถ้ำโดยไม่มีการกำหนดเส้นทางที่แน่นอน  และการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกถาวรภายในถ้ำ    ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลย์ของถ้ำ  และทำให้ถ้ำเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว  ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ถ้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร  สมดุลย์ของระบบนิเวศห่วงโซ่อาหารภายในถ้ำจะเกิดอะไรขึ้น  สัตว์ถ้ำชนิดพิเศษเหล่านี้จะสูญพันธุ์ไปหรือไม่จากการรุกรานของกิจกรรมท่องเที่ยว  ถ้ำที่เสื่อมโทรมไปแล้วไม่มีคนสนใจเข้าชมแล้วจะทำอย่างไรต่อไป  การฟื้นสภาพของถ้ำจะใช้เวลานานเท่าใด  หากถ้ำที่เปิดใช้ไปแล้วเสื่อมโทรมจนไม่มีนักท่องเที่ยวสนใจเข้าชม  ทางออกก็คือการบุกเบิกเปิดถ้ำใหม่เพื่อดึงดูดให้กิจกรรมการท่องเที่ยวเข้ามาพร้อมกับรายได้ครั้งใหม่กระนั้นหรือ
ตราบใดที่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงคุณค่าและความเปราะบางของถ้ำ  ขาดการควบคุมการเปิดใช้ถ้ำ  ขาดการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างรอบด้าน  อนาคตของทรัพยากรถ้ำในประเทศไทย  คงเหลือเพียงแค่รายงานการสำรวจว่ามีการค้นพบปลาชนิดใหม่ของโลกแต่ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยในเวลาอันรวดเร็วหลังจากการเปิดถ้ำเพื่อใช้ประโยชน์ไม่กี่ปี 
ภาพถ่ายที่สวยงามของถ้ำต่างๆ  อาจเป็นเพียงแค่บทบันทึกของอดีตที่แสนหวานเพราะความสวยงามของถ้ำเหล่านั้นกำลังจะถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วด้วยความคึกคะนองของนักท่องเที่ยวและการปล่อยปละละเลยขององค์กรที่เกี่ยวข้อง
ธรรมชาติได้ก่อกำเนิดสายพันธุ์ของสิ่งมีชิวิตใหม่ ๆ รวมไปถึงประติมากรรมธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งอัศจรรย์ใช้ระยะเวลาเป็นหมื่น ๆ  เป็นล้าน ๆ ปี  และประติมากรรมเหล่านี้มีความเปราะบางมากเมื่อถูกทำลายลงจากน้ำมือของมนุษย์  แล้วก็จะเป็นการสูญเสียตลอดกาลเพราะระบบนิเวศในถ้ำเกือบจะเป็นระบบปิด  ซึ่งไม่ฟื้นตัวเร็วเหมือนกับระบบนิเวศของป่า  ซึ่งมีความหลากหลายและมีการทดแทนและคืนสู่สภาวะสมดุลย์  ได้รวดเร็วกว่าหลายร้อย  หลายพันเท่า
และวันนี้นักสำรวจถ้ำกำลังทำการสำรวจและศึกษา  เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้พบเห็นและมีโอกาสรู้จักกับธรรมชาติในโลกที่ไม่ต้องการแสงสว่าง  แม้การสำรวจจะเต็มไปด้วยความเสี่ยงและอันตรายที่รออยู่ข้างหน้า  แต่นักสำรวจถ้ำก็ยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อให้การสำรวจนำไปสู่การวางแผนในการรักษาถ้ำให้รอดพ้นจากความเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์